ครูคือใคร......
ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้
ใช่อยู่ที่ ปริญญา มหาศาล
ใช่อยู่ที่ เรียกว่า ครูอาจารย์
ใช่อยู่นาน สอนนาน ในโรงเรียน
ครูคือผู้ ชี้นำ ทางความคิด
ให้รู้ถูก รู้ผิด คิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์ รู้ยาก รู้พากเพียร
ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สร้างงาน
ครูคือผู้ ยกระดับ วิญญาณมนุษย์
ให้สูงสุด กว่าสัตว์ เดรัจฉาน
ปลุกสำนึก สั่งสม อุดมการณ์
มีดวงมาน เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง
ครูจึงเป็น นักสร้าง ผู้ใหญ่ยิ่ง
สร้างคนจริง สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง
สร้างคนให้ ได้เป็นตัว ของตัวเอง
ขอมอบเพลง นี้มา บูชาครู
...เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์...
"phornphimol santa"
วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555
คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ
1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์
1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ธรรมะสอนใจ ทุกข์เกิดเพราะไม่ยอมรับความจริง
อะไรเกิดขึ้นในชีวิตเราเมื่อไร เราไม่รู้หรอก
อย่างความตายจะมาถึงเมื่อไรเราไม่รู้
เราไม่ตายคนใกล้ตัวเราอาจจะตายก็ได้
เพราะฉะนั้นเนี่ยชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
เศรษฐกิจก็ไม่แน่นอนนะ
ทางด้านสังคมก็มีโรคระบาดมีอะไรแบบนี้อีก มันมีความไม่แน่นอน
การเมืองก็กระเพื่อมไหว ทุกอย่างมีแต่ความไม่แน่นอน
บนความไม่แน่นอน สิ่งที่จะช่วยเราได้ก็คือธรรมะ
ธรรมะจะช่วยให้จิตใจของเราให้มั่นคง
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ใจเราก็ยังอยู่ของเราได้
ไม่กระเพื่อมขึ้น กระเพื่อมลง
คนซึ่งมีความทุกข์เนี่ย เพราะว่าใจไม่มีปัญญา
ความทุกข์มันมาได้เพราะใจเรายอมรับสภาวะที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตาไม่ได้
เช่น เราจะต้องเจ็บป่วยเรายอมรับไม่ได้ ความทุกข์ทางใจมันก็เกิดขึ้น
เราจะต้องแก่ ยอมรับไม่ได้ ว่าจะต้องแก่ ความทุกข์ทางจิตใจก็เกิดขึ้น
จะต้องตายยอมรับไม่ได้ก็ทุกข์อีก จะต้องพลัดพรากจากคนที่รัก
จะต้องเจอสิ่งที่ไม่รัก อะไรแบบนี้แหละ จะต้องผิดหวังในชีวิตบ้าง
ถ้าเรายอมรับความจริงได้ว่า ชีวิตมันเป็นอย่างนี้แหละ
ทุกอย่างผ่านมาแล้วผ่านไป ผ่านมาแล้วผ่านไปตลอดเวลา
ยอมรับความจริงตรงนี้ได้จะไม่ทุกข์ ที่ใจมันทุกข์เพราะมันไม่ยอมรับความจริง
อยากฝืนความจริง เช่น อยากมีความสุขถาวร อยากสงบถาวร อยากดีถาวร
อะไรดีๆ อยากจะให้ถาวร อะไรไม่ดีก็ไม่อยากให้มีถาวร
อยากถาวรเหมือนกันแต่ถาวรในเชิงลบคือไม่มี
อยากไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่พลัดพราก ไม่ทุกข์
เรามาหัดภาวนาเนี่ย ไม่ใช่เพื่อว่าเราจะไม่ต้องเจอความแก่ ความเจ็บ ความตาย
ความพลัดพราก ความไม่สมหวัง แต่เราภาวนา เพื่อให้เห็นความจริงนะ
ความจริงในโลกนี้มันบกพร่องอยู่ตลอดเวลา มันไม่สมอยากหรอก
มีแต่ความไม่สมอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา
อยากอย่างนี้มันไม่ได้ อยากอย่างนี้ไม่ได้ มันได้แป๊ปเดียว
เดี๋ยวก็หายไปอยากอย่างอื่นอีกละ
ในโลกนี้บกพร่องอยู่ตลอดเวลานะ ไม่เคยเต็ม ไม่เคยอิ่ม
ธรรมะโดยหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
อย่างความตายจะมาถึงเมื่อไรเราไม่รู้
เราไม่ตายคนใกล้ตัวเราอาจจะตายก็ได้
เพราะฉะนั้นเนี่ยชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
เศรษฐกิจก็ไม่แน่นอนนะ
ทางด้านสังคมก็มีโรคระบาดมีอะไรแบบนี้อีก มันมีความไม่แน่นอน
การเมืองก็กระเพื่อมไหว ทุกอย่างมีแต่ความไม่แน่นอน
บนความไม่แน่นอน สิ่งที่จะช่วยเราได้ก็คือธรรมะ
ธรรมะจะช่วยให้จิตใจของเราให้มั่นคง
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ใจเราก็ยังอยู่ของเราได้
ไม่กระเพื่อมขึ้น กระเพื่อมลง
คนซึ่งมีความทุกข์เนี่ย เพราะว่าใจไม่มีปัญญา
ความทุกข์มันมาได้เพราะใจเรายอมรับสภาวะที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตาไม่ได้
เช่น เราจะต้องเจ็บป่วยเรายอมรับไม่ได้ ความทุกข์ทางใจมันก็เกิดขึ้น
เราจะต้องแก่ ยอมรับไม่ได้ ว่าจะต้องแก่ ความทุกข์ทางจิตใจก็เกิดขึ้น
จะต้องตายยอมรับไม่ได้ก็ทุกข์อีก จะต้องพลัดพรากจากคนที่รัก
จะต้องเจอสิ่งที่ไม่รัก อะไรแบบนี้แหละ จะต้องผิดหวังในชีวิตบ้าง
ถ้าเรายอมรับความจริงได้ว่า ชีวิตมันเป็นอย่างนี้แหละ
ทุกอย่างผ่านมาแล้วผ่านไป ผ่านมาแล้วผ่านไปตลอดเวลา
ยอมรับความจริงตรงนี้ได้จะไม่ทุกข์ ที่ใจมันทุกข์เพราะมันไม่ยอมรับความจริง
อยากฝืนความจริง เช่น อยากมีความสุขถาวร อยากสงบถาวร อยากดีถาวร
อะไรดีๆ อยากจะให้ถาวร อะไรไม่ดีก็ไม่อยากให้มีถาวร
อยากถาวรเหมือนกันแต่ถาวรในเชิงลบคือไม่มี
อยากไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่พลัดพราก ไม่ทุกข์
เรามาหัดภาวนาเนี่ย ไม่ใช่เพื่อว่าเราจะไม่ต้องเจอความแก่ ความเจ็บ ความตาย
ความพลัดพราก ความไม่สมหวัง แต่เราภาวนา เพื่อให้เห็นความจริงนะ
ความจริงในโลกนี้มันบกพร่องอยู่ตลอดเวลา มันไม่สมอยากหรอก
มีแต่ความไม่สมอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา
อยากอย่างนี้มันไม่ได้ อยากอย่างนี้ไม่ได้ มันได้แป๊ปเดียว
เดี๋ยวก็หายไปอยากอย่างอื่นอีกละ
ในโลกนี้บกพร่องอยู่ตลอดเวลานะ ไม่เคยเต็ม ไม่เคยอิ่ม
ธรรมะโดยหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555
จรรยาบรรณครู 9 ข้อ
คุรุสภา ได้ออกจรรยาบรรณครู 9 ข้อ เมื่อปี พ.ศ. 2539 ความว่า....
1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5. ครูต้องไม่แสดดงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ซอฟต์แวร์ไทยโกเจแปน จับมือเอ็มยูเอสสร้างเครือข่ายไทย-ญี่ปุ่น
นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากการที่เศรษฐกิจโลกมีการปรับเปลี่ยนตามแนวโน้มเทคโนโลยี หลายประเทศมีความตื่นตัวในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ที่จะเชื่อมตลาดการค้าการลงทุนเป็นซิงเกิลมาร์เกต การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะข้ามชาติ การเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามในการเติบโตของบริษัทซอฟต์แวร์ท้องถิ่นในประเทศไทยอย่างมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เนื่องจากการแข่งขันจากบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จากต่างประเทศจะมีมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความร่วมมือกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ในต่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งการที่ทาง สวทช.ได้ลงนามความร่วมมือโครงการ “ความร่วมมือเปิดช่องทางโอกาสทางการตลาดแก่ซอฟต์แวร์ไทยไปประเทศญี่ปุ่นกับทาง Made in Japan Software Consortium (เอ็มยูเอส) พร้อมกับ 2 องค์กรทางด้านไอซีทีของไทย ประกอบไปด้วย สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) กับสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ทีเซพ) ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ทั้งในเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร ความเข้มแข็งของทีมงาน รวมถึงการขยายตลาดการให้บริการซอฟต์แวร์ระหว่าง 2 ประเทศร่วมกัน ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์ปาร์ก กล่าวว่า ภารกิจหนึ่งของซอฟต์แวร์ปาร์กก็คือ การส่งเสริมให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเติบโตขึ้นทั้งในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการลงทุนในประเทศไทยค่อนข้างมาก จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มีการลงทุนจากต่างประเทศถึง 12% โดยประเทศญี่ปุ่นมีโครงการลงทุนมาเป็นอันดับ 1 ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้กับเอ็มยูเอสที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการและนักลงทุน หรือที่เรียกว่าเวนเจอร์แคปปิตอล ทางด้านซอฟต์แวร์ของประเทศญี่ปุ่นที่มีสมาชิกประมาณ 55 บริษัท ทำให้โอกาสที่บริษัทองค์กรภาคเอกชนทั้ง 2 องค์กรอย่าง เอทีซีไอ และทีเซพ ได้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เกิดโครงการการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกัน เกิดโอกาสในการรับงานพัฒนาซอฟต์แวร์จากประเทศญี่ปุ่น (Software outsourcing) อันจะส่งผลในการขยายโอกาสทางการตลาดในทั้งสองประเทศ เพิ่มมูลค่าการพัฒนาและการส่งออกซอฟต์แวร์ไทย อีกทั้งจะเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณภาพของซอฟต์แวร์ไทย กิจกรรมในปีแรกนี้ จะเห็นโครงการแลกเปลี่ยนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยการคัดเลือกนักพัฒนาของไทยเดินทางไปฝึกงาน เรียนรู้ระบบการทำธุรกิจซอฟต์แวร์ในญี่ปุ่น รวมถึงสร้างเครือข่ายกับบริษัทซอฟต์แวร์ที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 เดือน อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ Inbound-outbound สร้างเครือข่ายพันธมิตร “ความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 2 ปี โดยในปีแรกน่าจะเป็นช่วงเวลาทำความรู้กันระหว่างสมาชิกทั้ง 3 องค์กร โดยในปีที่ 2 น่าจะเกิดกิจกรรมการตลาดร่วมกันเกิดขึ้น แต่เวลานี้ก็มีบางบริษัทในประเทศไทยที่มีความร่วมมือไปบ้างแล้วในระดับหนึ่ง โดยเชื่อว่าภายใน 2 ปีของความร่วมมือน่าจะมีมูลค่าความร่วมมือเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ทั้งในรูปแบบของงานเอาต์ซอร์ส (outsource) และงานที่เป็นแบบซับคอนเทกต์” นายมิโนะ คาซูโอะ Chief Director, Made in Japan Software Consortium (เอ็มไอเจเอส) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการร่วมมือในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้บริษัทในประเทศไทยได้มีโอกาสรู้จักและใช้ซอฟต์แวร์ญี่ปุ่นมากขึ้น ซึ่งมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์และเซอร์วิสในประเทศญี่ปุ่นตกประมาณ 8,880 พันล้านบาท โดยมีมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ไปต่างประเทศเพียง 5% ซึ่งความตั้งใจที่จะผลักดันให้สัดส่วนการส่งออกซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้นเป็น 20% ดร.พีรสัณห์ บุณยคุปต์ นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวเสริมว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีความร่วมมือกันระดับองค์กรภาคเอกชน ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาสมาชิกในสมาคมมีความร่วมมือกันในระดับบริษัท ซึ่งเชื่อว่าโซลูชันที่บริษัทซอฟต์แวร์คนไทยจะทำตลาดในญี่ปุ่นได้น่าจะเป็นโซลูชันทางด้านโรงแรมที่เป็นเอสเอ็มอีบนคลาวด์เทคโนโลยี รวมไปถึงโซลูชันอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเชื่อว่ามีมูลค่าได้ถึง 50 ล้านบาทภายใน 2 ปี “ความร่วมมือในครั้งนี้ ทางสมาคมฯ ยังมองไกลไปถึงการจับมือร่วมกันในการทำตลาดประเทศที่ 3 อีกด้วย” |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)